แบงค์ พชร ปัญญายงค์

หน้าแรก / Instagram @mjbank / รูปของ แบงค์ พชร ปัญญายงค์

แบงค์ พชร ปัญญายงค์

แบงค์ พชร ปัญญายงค์

@mjbank

อินสตาแกรมของ แบงค์ พชร ปัญญายงค์

11,289

Posts

214,855

Followers

1,192

Followings
Pachara Bank Panyayong | พชร แบงค์ ปัญญายงค์ Money Jockey Vice President of Toyota Bangkok Co.,Ltd. Group Let's see what I see. www.twitter.com/MJBank www.toyotabangkok.co.th


@mjbank : แต่ที่หยิบยกรูปก่อนหน้าขึ้นมา เพราะการเหยียดยังมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า (ลองอ่านที่พบเจอและทางแก้ได้ ใน #StopSLR) จนเป็นที่มาของรูปนีั ป้ายซอยชื่อดัง เพนนีเลน ในเมืองลิเวอร์พูล ซอยที่แม้แต่ 4 เต่าทอง ต้องแต่งเพลงถึง กลับถูกทำให้เสียหายเพราะคนทำหาเรื่องโยงกับพ่อค้าทาสชื่อดังในอดีตที่มีนามสกุลว่าเพนนี แม้ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ถึงที่มาของชื่อซอย แต่การกระทำแบบนี้กำลังลุกลามไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก จากความเก็บกดของคนกลุ่มน้อย ผนวกกับความอัดอั้นช่วงเก็บตัวจากโควิด19 ของคนหมู่มาก จนมาประทุหลังคดีของ จอร์จ ฟลอยด์ . ข้อดีของการได้เคยอยู่ร่วมกันใน Melting Pot หม้อต้มผสมเชื้อชาติขนาดใหญ่ ทั้งในเมืองลอสแองเจลิส กทมฯ หรือแม้แต่ลิเวอร์พูล มีความเหมือนกันอยู่คือ ภูมิยุทธศาสตร์ที่เป็นเมืองท่า ทำให้มีคนหลากหน้าหลายตาเข้าออกวนเวียนมาไม่ขาดสายตลอด 200 ปี แม้ในพิพิธภัณฑ์ก็มีหลักฐานชัดถึงการค้าและความร่วมมือระหว่างชนผิวสีต่างๆ ทำให้เราได้รู้ซึ้งถึงคำว่า #OneRaceHumanRace ได้เห็นความเหยียดผิวน้อยกว่าที่อื่น ยังมีนะครับ แต่ไม่เยอะเท่าอีกหลายสิบบ้านสิบเมืองที่ผมเคยไปประสบเอง . ย้อนกลับไปในลิเวอร์พูล เคยมีกระแสสังคมต่อต้านแฟนบอลใส่เสื้อบอลชุดแข่งในวันแข่ง เป็นดั่งทำเนียมปฏิบัติตั้งแต่ยุค 1970 หากคุณเป็นคนลิเวอร์พูลแท้ เสก๊าเซอร์จริง คุณต้องไม่ใส่ ไม่อุดหนุน ไม่เป็นพวกชนชั้นล่าง ไม่ทำตัวเป็นคนต่างประเทศ คนที่สะเออะใส่ชุดแข่งเดินในแมทช์เดย์ เคยถูกประนามว่าเป็นแรงงาน หรือ WoolyBack ซึ่งคำว่า วูลี่บักค์ มักถูกแปลว่า คนที่ทำงานหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ทำงานจนตัวเป็นขน คนงานผิวต่างสี ขนผ้าเต็มบ่าเต็มหลัง กองเชียร์คนนอก หรือแรงๆเลยว่าเป็นพวกมีเพศสัมพันธ์กับปศุสัตว์ ทั้งๆที่ความเป็นจริงช่างย้อนแย้ง เพราะชนชั้นแรงสมัยก่อนไม่มีเงินเหลือไปซื้อชุดแข่งมาใส่เล่นหลอกครับ แต่เป็นการตีตราที่ค่อนข้างรุนแรงมาก จนคนหมู่มากไม่ใส่ไปตามๆกัน . แม้ในปัจจุบัน การเหยียดกันด้วยเหตุนี้จะน้อยลง เพราะคนสมัยนีัไม่มีอคติกับทีมหรือเจ้าของชุดปัจจุบัน และต้องการอุดหนุนเสื้อแท้กัน ต้องการช่วยให้สโมสรมีเงิน แต่เราก็ยังคงเห็นคนเมืองไม่น้อยที่ถือตั๋วปี ไม่ใส่เสื้อแข่งไปเข้าสนาม จนผมลองถามเรื่องนี้ไป 12 ครั้ง กับเพื่อนคนขาวชาวอังกฤษ 12 คน จาก 10 ครอบครัว อายุตั้งแต่ 32-56 ปี ไม่มีใครใคร่ปฏิบัติแบบนั้นอีกแล้ว อยากจะใส่ก็ใส่ ไม่ควรมีใครมาตีตรา บ้