สา มาริสา แอนนิต้า

หน้าแรก / Instagram @sa_marisaanita / รูปของ สา มาริสา แอนนิต้า

สา มาริสา แอนนิต้า

@sa_marisaanita

อินสตาแกรมของ สา มาริสา แอนนิต้า

2,085

Posts

102,037

Followers

194

Followings
| Thai-Ducth girl 🇳🇱 🐶 @sunday_thebordercollie 🎥 วุ่นรักนักข่าว ช่อง PPTV36 นางสาว18 มงกุฎ GMM25 พุธ-พฤหัส 20.10 📞 คุณเหน่ง 062-928-2668


@sa_marisaanita : ขอบคุณอมรินทร์ทีวีนะคะ #sundaythetherapydog • ถ้าใครสนใจ อยากมาฝึกเป็นทีม Therapy Dog ด้วยกัน ก็ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ เพจ Facebook & IG : Therapy Dog Thailand หรือ เว็บไซต์ www.therapydogthailand.org • ถ้าองค์กร หรือหน่วยงานไหน สนใจอยากจะให้ทีมพวกเราเข้าไปบำบัด ก็ติดต่อเข้ามาได้เช่นกันค่ะ • สาและซันเดย์ เป็น “ทีมสุนัขนักบำบัด” ของ Therapy Dog Thailand ใน “หลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 ถือเป็นรุ่นแรก และครั้งแรกของประเทศไทย ที่เรามีสุนัขนักบำบัด ที่ได้มาตรฐานระดับโลก เป็นหลักสูตรที่ทาง Therapy Dog Thailand co กับทาง Therapy Dog Association Switzerland (Non-Profit organization ของสวิตเซอร์แลนด์) • ตอนนี้สอบผ่านทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเรียบร้อย ในรุ่นที่ 1 นี้ มีทีมสุนัขนักบำบัด สอบผ่านทั้งหมด 16 ทีม และมีเยาวชนอีก 5 ทีม เรากำลังจะเริ่มฝึกงาน ทำการบำบัด กับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และเด็กๆ กันจริงๆ ในเดือนมีนาคมนี้ • พูดถึง Therapy Dog หรือสุนัขบำบัด คนมักเข้าใจว่า เอาสุนัขไปกอดเล่น น่ารักๆ แต่จริงๆแล้ว หมามีศักยภาพมากกว่านั้น ถ้าเราเรียนรู้ และฝึกเขาให้ถูกวิธี เขาเป็น “นักบำบัด” ดูแลเรา ดูแลคนรอบตัวเรา หรือทำงานจิตอาสาได้จริงๆ • ในการเรียน Therapy Dog คนจะเข้าใจว่า เป็นการฝึกหมา แต่จริงๆแล้วฝึกเจ้าของนี่แหล่ะ เพราะเราเองจะเป็นคนเข้าไปดูแลผู้รับการบำบัด เราออกคำสั่ง จัดท่าทาง ใช้สุนัขเป็นเหมือน “เครื่องมือแพทย์” ในการดูแลคนกลุ่มต่างๆ หรือผู้ป่วย พวกเราเรียกตัวเองว่า ทีมสุนัข “นักบำบัด” ไม่ใช่สุนัขบำบัด เพราะสามั่นใจว่า สิ่งที่เราตั้งใจเรียนกันมา ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวม 5 เดือน มั่นใจว่าน้องหมาของพวกเรา ปลอดภัย ได้มาตรฐานระดับโลก • ในส่วนของตัวสาเอง สาได้เรียนการดูแลคนได้หลายกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุ เด็กพิเศษ ผู้ป่วยซึมเศร้า คนหูหนวก คนตาบอด ตั้งแต่ลักษณะพื้นฐาน โรคต่างๆ วิธีการพูดคุย สื่อสาร การดูแลคนประเภทต่างๆ และในส่วนของซันเดย์เอง ก็ได้ฝึกหลายอย่างเพิ่มขึ้น เช่น เรื่องการเดิน การคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถเข็นผู้ป่วย เพื่อจะได้มีกิจกรรมบำบัดคน สร้างความสุข ได้หลายรูปแบบมากขึ้น